เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข ประกอบกับการเข้าสู่เทศกาลประเพณีสงกรานต์ ซึ่งประชาชนจำนวนมากจะเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยว รัฐบาลจึงกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการจัดการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัตดังต่อไปนี้
1. การปรับเขตพื้นที่สถานการณ์
ศบค. มีคำสั่งปรับเขตพื้นที่จังหวัด และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ตามรายละเอียดดังนี้
1) พื้นที่ควบคุม จำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว) นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ (ยกเว้นอำเภอเมือง) ประจวบคีรีขันธ์ (ยกเว้นเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) พระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา) พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง (ยกเว้นเกาะพยาม) ระยอง (ยกเว้นเกาะเสม็ด) ราชบุรี สงขลาสมุทรปราการ (ยกเว้นพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี (ยกเว้นเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) อุดรธานี (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน) อุตรดิตถ์
2) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 47 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) จันทบุรี (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่) ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น อำเภอเวียงป่าเป้า) ตรัง ตราด (ยกเว้น อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง) นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ยโสธร ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย (ยกเว้นอำเภอเชียงคาน) ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) หนองคาย (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
3) พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) จันทบุรี (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่) ชลบุรี เชียงราย (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น อำเภอเวียงป่าเป้า) เชียงใหม่ ตราด (เฉพาะอำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง) นครราชสีมา (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอ ปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว) นนทบุรี บุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมือง) ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) พระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา) พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง (เฉพาะเกาะพยาม) ระยอง (เฉพาะเกาะเสม็ด) เลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน) สมุทรปราการ (เฉพาะพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) สุรินทร์ (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) หนองคาย (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) อุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน)
2. การขยายเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 8 มกราคม 2565 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงมาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ต่อไป
การจัดงานหรือจัดกิจกรรมในกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครได้ผ่อนคลายมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 ดังนี้
- การจัดประชุม สัมมนา การจัดงานในโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) รวมทั้งดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนดโดยอนุญาตให้มีการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ในงานได้ไม่เกิน 23.00 น. เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA Plus หรือตามมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID-19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus) แล้วเท่านั้น
- จำนวนผู้เข้าร่วมงานให้พิจารณาตามความเหมาะสมของสถานที่ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 45 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้อ 6 คือ ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 1,000 คน เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หรือเป็นไปตามข้อยกเว้นในข้อกำหนด ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564
3. ปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเป็นกรณีเฉพาะสำหรับเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
ผู้ที่จะเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ควรประเมินความเสี่ยงสังเกตอาการตนเอง หรือใช้ชุดตรวจ ATK เป็นระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง การพบปะ การเข้าร่วมกิจกรรมรวมกลุ่ม และขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบางเตรียมเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณากำหนดสถานที่ กิจการ กิจกรรม ที่สามารถดำเนินการได้เป็นกรณีเฉพาะสำหรับเทศกาลสงกรานต์ ตามเงื่อนไขดังนี้
1) พื้นที่กำหนดเป็นการเฉพาะหรือพื้นที่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้ให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงานหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดสถานที่และดำเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน รวมทั้งมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ดังนี้
ก. การจัดกิจกรรมในลักษณะการเล่นน้ำตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว การละเล่นตามประเพณีการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี สามารถจัดได้
ข. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการเล่นประแป้ง และกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม
ค. ห้ามจำหน่ายและดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรม
ง. ต้องมีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าออก และมีการลงทะเบียนก่อนเข้าออก
จ. ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัดตามเกณฑ์ คือมีระยะไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อผู้ร่วมกิจกรรม 1 คน
2) ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรม
3) การจัดเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ดำเนินการได้โดยให้ ศปก. พื้นที่ของชุมชนนั้น ๆ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาอนุญาต และต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรการที่กำหนด
4) สถานที่หรือการจัดกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินมาตรการความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะด้วย
เพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรค ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานที่กลับมาปฏิบัติงานหลังการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประเมินความเสี่ยง สังเกตอาการในช่วงหนึ่งสัปดาห์ โดยหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการภาคเอกชน สามารถพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อดำเนินมาตรการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้
การจัดกิจกรรมสงกรานต์ในกรุงเทพมหานคร
1) การจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ที่มีการรวมกลุ่มไม่เกิน 1,000 คน ให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ขออนุญาตต่อสำนักงานเขตพื้นที่ กรณีเกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ก่อนจัดงานอย่างน้อย 5 วัน ทั้งนี้สถานที่จัดกิจกรรมควรเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง ระบายอากาศได้ดี เลี่ยงการจัดกิจกรรมในพื้นที่แคบหรือในห้องปรับอากาศ
2) พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้ ต้องให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดสถานที่และดำเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน รวมทั้งมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) และปฏิบัติตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเป็นกรณีเฉพาะสำหรับเทศกาลสงกรานต์ ตามข้อกำหนด ฉบับที่ 43 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/075/T_0044.PDF)
4. การปรับแนวปฏิบัติสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ
ศบค. ได้ปรับแนวปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สามารถเดินทางเข้าประเทศทางอากาศ ทางบก ได้โดยลงทะเบียนผ่าน Thailand Pass การเข้าประเทศทางน้ำให้ผ่านการขอ COE
2) ยกเลิกการแสดงผลตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางกับผู้เดินทาง 6 ประเภท คือ (1) ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจควบคู่กับความมั่นคงด้านสาธารณสุขตามแผนการเปิดประเทศของรัฐบาล (2) ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล (3) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในประเทศตามความจำเป็น หรือบุคคลในหน่วยงานของรัฐต่างประเทศ หรือหน่วยงานระหว่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศ ตลอดจนคู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น (4) ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็นแต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้เดินทางออกนอกประเทศโดยเร็ว (5) ผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกประเทศชัดเจน และ (6) ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด
3) ผู้เดินประเภทที่ (1) ให้แสดงหลักฐานการชำระค่าที่พัก หรือสถานที่กักกันในวันแรกที่เดินทางเข้ามาในประเทศ และหลักฐานการชำระค่าตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT–PCR จำนวน 1 ครั้ง รวมถึงค่าชุดตรวจแบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) เมื่อเข้ามาในประเทศแล้วให้เดินทางยังไปโรงแรม ที่พัก หรือสถานที่กักกัน เพื่อตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 โดยวิธี RT–PCR โดยยานพาหนะที่จัดไว้ และไม่มีการแวะหรือหยุดพัก ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง (Sealed Route) กรณีผลการตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อสามารถเดินทางในประเทศได้โดยปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และให้ตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) ในวันที่ 5 ของระยะเวลาที่อยู่ ในประเทศ หรือเมื่อมีอาการ โดยใช้ระบบติดตามหรือแอปพลิเคชันตามที่กำหนดที่เปิดระบบไว้ตลอดเวลา เพื่อติดตามอาการและบันทึกผลการตรวจหาเชื้อด้วยตนเองระหว่างที่อยู่ในประเทศ
4) ผู้เดินประเภทที่ (2) ให้แสดงหลักฐานการชำระค่าที่พัก หรือสถานที่กักกันเมื่ออยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 5 วัน และหลักฐานค่าตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT–PCR จำนวน 1 ครั้ง รวมถึงค่าชุดตรวจแบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) เมื่อเข้ามาในประเทศแล้วเดินให้ทางยังไปโรงแรม ที่พัก หรือสถานที่กักกันที่อยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพื่อตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 โดยวิธี RT-PCR โดยยานพาหนะที่จัดไว้ และไม่มีการแวะหรือหยุดพัก ภายในระยะเวลาไม่เกิน 55 ชั่วโมง (Sealed Route) กรณีผลการตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อสามารถเดินทางในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวได้โดยปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และให้ตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) ในวันที่ 5 ของระยะเวลาที่อยู่ในประเทศหรือเมื่อมีอาการ หลังจากที่พำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวครบ 5 วัน และตรวจไม่พบเชื้อ สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวได้ โดยใช้ระบบติดตามหรือแอปพลิเคชันตามที่กำหนดที่เปิดระบบไว้ตลอดเวลาเพื่อติดตามอาการและบันทึกผลการตรวจหาเชื้อด้วยตนเองระหว่างที่อยู่ในประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ - คำถามที่พบบ่อย
สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
อ้างอิง
###
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากองค์การอนามัยโลก
ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000
การปรับพื้นที่สถานการณ์
การปรับมาตรการช่วงเทศกาลสงกรานต์
แนวปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ