กรุงเทพฯ / 11 กันยายน 2556 สำนักงานส่งเสริมการจัด ประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ร่วมกับ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นำร่องพัฒนา “โครงการจุดจอดจักรยานของศูนย์ฯสิริกิติ์” เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการไมซ์ ตามแนวทางการจัดประชุมอย่างยั่งยืนเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานา ประเทศ พร้อมผลักดันแนวคิดเรื่อง Sustainability สร้างจุดขายใหม่ ส่งให้ไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย
นางนิชาภา ยศวีร์, ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า “เราได้มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยภายใต้แนวทางการจัดงานที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Sustainability Thailand โดยที่ผ่านมา ทีเส็บ ได้นำมาตรฐานการจัดการและบริหารธุรกิจอีเวนต์อย่างยั่งยืน หรือ ISO 20121 Event Sustainability Management System มาแนะนำและผลักดันให้ผู้ประกอบการไมซ์พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับ นานาชาติ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันทั้งในเรื่องการยกระดับมาตรฐานและการ บริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจุบันประเด็นความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอัน หนึ่งที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้ที่จะเดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจใน ประเทศต่าง ๆ”
ทั้งนี้ มาตรฐาน ISO 20121 เป็นมาตรฐานการจัดการและบริหารธุรกิจอีเว้นต์อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีการนำมาใช้ครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ลอนดอน 2012 ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียและเป็นลำดับที่ 2 ของโลก ที่นำมาตรฐานนี้มาใช้
“ภายใต้การพัฒนามาตรฐานการจัดการและบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability Thailand นั้น ทีเส็บ จึงได้ริเริ่ม “โครงการจุดจอดจักรยาน” ขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางเข้าร่วมงานไมซ์ในสถานที่จัดประชุมและ แสดงสินค้าอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้จะนำจุดจอดจักรยานเสนอเป็นจุดขายสำคัญของสถานที่จัดงานไมซ์ให้ กับกลุ่มผู้ซื้อที่สนใจเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงาน สอดรับกับกระแสการจัดงานเชิงธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน โดยความร่วมมือระหว่างทีเส็บและศูนย์ฯสิริกิติ์ในการจัดทำจุดจอดจักรยานที่ ได้มาตรฐานขึ้น จึงนับเป็นโครงการที่เป็นรูปธรรมจากการผลักดันแนวคิดเรื่อง Sustainability
“การเปิดจุดจอดจักรยานของศูนย์ฯสิริกิติ์ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางเข้าร่วมงานยังเป็น บริการใหม่ที่สร้างจุดแข็งในการแข่งขันกับนานาชาติ ตอบสนองความต้องการของตลาดไมซ์ในระดับสากล สอดรับกับแนวโน้มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก ตลอดจนกระแสความนิยมในการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรและการออกกำลังกายของ ประชาชนไทยทั่วไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มผู้เดินทางมาร่วมงานต่างๆ ของศูนย์ฯ สิริกิติ์อีกด้วย” นางนิชาภากล่าวเสริม
ด้าน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล , กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวถึง วัตถุประสงค์การจัดทำจุดจอดจักรยานและนโยบายด้านการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวด ล้อมว่า “ทางศูนย์ฯสิริกิติ์ตระหนักถึงปัญหามลภาวะจากไอเสียรถยนต์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ กาย-ใจ และคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง อีกทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ยังก่อให้เกิดภาวะ โลกร้อน จักรยานจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้รักสุขภาพสำหรับใช้ในการเดินทางไปยัง จุดหมายต่าง ๆ ด้วยความสะดวกสบาย ไม่ต้องเจอผจญกับสภาพรถติด ไม่ก่อมลพิษทางอากาศ และยังเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้ขี่จักรยานอีกด้วย”
การจัดทำจุดจอดจักรยานของศูนย์ฯสิริกิติ์ ใช้พื้นที่บริเวณริมบาทวิถีด้านติดกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปใช้จักรยานในการเดินทาง และอำนวยความสะดวกด้านสถานที่จอดให้กับผู้ที่เดินทางมาร่วมงานที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์หรือมาออกกำลังกายในสวนเบญจกิติโดยใช้จักรยาน ซึ่งผลที่ได้นอกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานและลดมลภาวะทางอากาศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้จักรยานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
“โครงการจุดจอดจักรยานนี้ถือเป็นโครงการที่ดี มีหลักการสอดรับกับภารกิจและค่านิยมขององค์กรด้าน CSR ที่ให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ ภายใต้นโยบาย NCC Committed to Green MICE ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้พนักงานเอ็นซีซี มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะเชื่อว่าความเป็นเลิศและความสำเร็จทางธุรกิจต้องควบคู่ไปกับการมี จิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต” นายศักดิ์ชัย กล่าวเสริมสรุป
ทีเส็บได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไมซ์ปรับปรุง การดำเนินงานให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ภายใต้โครงการ Green Meetings ต่อมาในปีพ.ศ.2552 ได้มีการส่งเสริมการนำมาตรฐาน ISO 50001 Energy Management System มาใช้ ซึ่งศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ยังเป็นหนึ่งในสองศูนย์ประชุมนานาชาติ ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 50001 และซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนส่งผลให้ประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้รับการยอมรับเป็น 1 ใน 2 เมืองประเทศผู้นำในทวีปเอเชีย ในเรื่อง Green Meetings Management จากผลสำรวจของ MCI ซึ่งเป็นบริษัท Professional Congress Organizer (PCO) ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
# # #
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ส่วนงานสื่อสารองค์กร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-694-6000
อริสรา ธนูแผลง
อีเมล: arisara_t@tceb.or.th
พิษณุ พลายแก้ว
อีเมล: Pishnu_p@tceb.or.th