รายงานสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
เรื่อง ข้อกำหนด ข้อปฏิบัติ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์
วันที่ 4 มีนาคม 2564
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ได้ปรับระดับเขตพื้นที่สถานการณ์ของกรุงเทพมหานคร จากพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็น “พื้นที่ควบคุม” (จังหวัดชลบุรี และสงขลา เป็น “พื้นที่เฝ้าระวังสูง” จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต เป็น “พื้นที่เฝ้าระวัง”) ดังนั้นเพื่อผ่อนคลายมาตรการควบคุม กรุงเทพมหานครจึงออกประกาศ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 20 ซึ่งมีบางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมไมซ์โดยตรงหรือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการไมซ์ สรุปได้ดังนี้
การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การประชุม สัมมนา จัดเลี้ยง การจัดการแสดง ในเขตกรุงเทพฯ เกิน 300 คน ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนการจัดงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ โดยผู้จัดกิจกรรมจะต้องกำกับการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ และหมอชนะก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม
ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ
เปิดดำเนินการจัดประชุม การแสดงสินค้า หรือการจัดนิทรรศการได้ โดยปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
- 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ และกำจัดขยะทุกวัน
- 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- 4. เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
- 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมในงานแสดงสินค้า มิให้แออัด โดยพิจารณาจัดเป็นรอบเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในพื้นที่โดยรวมและพื้นที่บูธแสดงสินค้า
- 6. เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรม ลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
- 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดระบบคิวตามรอบงาน ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่รวมทั้งใช้ระบบเทคโนโลยีรองรับการจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้าแบบออนไลน์ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ
- 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ อาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าอาคาร และติดสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วย และมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
- 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคาร ศูนย์ประชุม พื้นที่จัดแสดงสินค้า นิทรรศการ ห้องสุขา โดยให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
- 10. งดเว้นการดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
- 11. พิจารณาเหลื่อมเวลาเปิดและปิดการจัดแสดงสินค้า นิทรรศการ หรือจัดให้มีการรับส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อลดความแออัดของการใช้บริการขนส่งสาธารณะ
- 12. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
- 13. จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
- 14. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
ห้องประชุมในโรงแรม หรือศูนย์ประชุม
จำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 300 คน และต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
- 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ และกำจัดขยะทุกวัน
- 2. พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมประชุม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาการประชุมและการให้บริการ
- 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- 4. ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 5 เมตร และกรณีที่นั่งเต็ม งดเสริมเก้าอี้ หรือยืนร่วมประชุม
- 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ร่วมประชุมมิให้แออัด ทั้งพื้นที่รอเข้างาน จุดคัดกรองลงทะเบียน ประทับตราจอดรถ ประชาสัมพันธ์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม
- 6. ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันตามที่ราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้
- 7. กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละสถานที่ไม่เกิน 300 คน
- 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการผู้ใช้บริการ และผู้เข้าร่วมประชุมก่อนเข้าอาคาร จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมประชุมมีอาการป่วย โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
- 9. จัดให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้เข้าร่วมประชุมได้ทุกคนหากพบผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังการประชุม
- 10. งดให้ผู้ร่วมกิจกรรมตักอาหาร หรือรับเครื่องดื่มเอง ให้พนักงานบริการเสิร์ฟสวม Face Shield ขณะให้บริการ
- 11. จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีภายในอาคาร ห้องประชุม และห้องสุขา
- 12. อาจจัดให้มีการรับส่งผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ
- 13. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
- 14. จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมประชุม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริหารและการจัดประชุม ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
- 15. อาจจัดให้มีระบบลงทะเบียนเข้างานแบบออนไลน์ รวมทั้งระบบเทคโนโลยีรองรับสำหรับการประชุมออนไลน์
สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
จำกัดผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 300 คน และต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
- 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะทุกวัน
- 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
- 4. ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนในพื้นที่โดยรอบห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด พิจารณาเพิ่มพื้นที่ทางเดินให้มีสัดส่วนมากขึ้น งดเว้นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนมาชุมนุมหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
- 6. ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรมลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
- 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดระบบคิวตามรอบงาน ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่รวมถึงบริเวณพื้นที่จัดงาน ให้พิจารณาใช้ระบบเทคโนโลยีรองรับสำหรับการจัดนิทรรศการ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ
- 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าอาคาร จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วยและมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
- 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคาร รวมถึงห้องสุขา ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
- 10. พิจารณาจัดที่นั่งให้มีระยะห่างในลักษณะ 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่ง เฉพาะสถานที่ที่มีการระบายอากาศดี
- 11. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร โดยทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน มีการจัดระเบียบก่อนเข้าและออกจากงาน เพื่อป้องกันผู้คนชุมนุมหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
- 12. พิจารณาเหลื่อมเวลาการจัดเลี้ยง หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือจัดให้มีการรับและส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อลดความแออัดของการใช้ขนส่งสาธารณะ
- 13. ให้คำแนะนำผู้ร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
- 14. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ระบบเข้าออกสถานที่โดยไม่แออัด และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
- 15. การจัดเลี้ยงให้ปรับรูปแบบการให้บริการ โดยงดการตักอาหารส่วนกลางด้วยตนเอง รวมถึงการตักอาหารในภาชนะ หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ
ปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
- 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะทุกวัน
- 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
- 4. ให้นั่งเว้นระยะ 1 ที่นั่ง หรือห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เว้นแต่ผู้ที่มาด้วยกันให้นั่งติดกันได้
- 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด งดกิจกรรมหรือการดำเนินการที่เปิดโอกาสให้คนมาชุมนุมหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
- 6. ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ ลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
- 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าออก จัดระบบคิวตามรอบฉาย และลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานได้
- 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าโรงภาพยนตร์ จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วยและมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
- 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงห้องสุขา ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
- 10. พื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร โดยทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน มีการจัดระเบียบก่อนเข้าและออกจากโรงภาพยนตร์ เพื่อป้องกันผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
- 11. ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด
- 12. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ระบบเข้าออกสถานที่โดยไม่แออัด และระบบจองตั๋วแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
การจัดการแสดง นาฏศิลป์ ดนตรี คอนเสิร์ต หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ
ให้จัดเฉพาะการจัดที่นั่งสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น เพื่อป้องกันการชุมนุมหนาแน่นและภาวะไร้ระเบียบ โดยปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
- 1. ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสถานที่จัดกิจกรรม
- 2. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา
- 3. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- 4. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
- 5. ให้เว้นระยะที่นั่ง และระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร
- 6. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด ทั้งพื้นที่รอเข้างาน จุดคัดกรองลงทะเบียน จุดประชาสัมพันธ์ จุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม โดยพิจารณาจัดเป็นรอบเข้าร่วมกิจกรรม ให้งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินการอื่นใดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนชุมนุมหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้ ทั้งนี้ให้เลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน เช่น มิให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงร่วมกับนักร้องนักแสดงบนเวที และมิให้มีการเต้นยกเว้นการเต้นของนักร้องหรือนักแสดงบนแสดงเวที
- 7. ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรมลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
- 8. ให้มีการควบคุมทางเข้าออก จัดระบบคิวตามรอบงาน ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้
- 9. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนเข้าสถานที่ จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้มีอาการป่วย โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
- 10. ให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน หากพบผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังจากการร่วมกิจกรรม
- 11. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- 12. ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน โดยให้เป็นตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
- 13. ให้มีระบบลงทะเบียนเข้างานแบบออนไลน์ รวมทั้งระบบเทคโนโลยีรองรับสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรม
สามารถศึกษาประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 20 และข้อบังคับฉบับเต็มได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
http://www.prbangkok.com/th/post/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ4NTEyMg
สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/
อ้างอิง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/041/T_0071.PDF
http://www.prbangkok.com/th/post/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ4NTEyMg
http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/
###
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 จากองค์การอนามัยโลก
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/news.php
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000
https://www.businesseventsthailand.com/en/situation-update-coronavirus-covid-19 หรือ info@tceb.or.th