รายงานสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
เรื่อง การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ และยกระดับมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วันที่ 4 พฤษภาคม 2564
จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติที่เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อสกัดกั้นและยุติการระบาดให้เร็วที่สุด ดังต่อไปนี้
การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่ออยู่นอกที่พักอาศัยหรืออยู่ในที่สาธารณะ และต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
การกำหนดพื้นที่สถานการณ์
ปรับระดับเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ดังนี้
1.1 ห้ามการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนรวมเกิน 20 คน ยกเว้น ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่เป็นสถานกักกันโรค โดยต้องดำเนินตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
1.2 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ให้จำหน่ายเพื่อนำไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น งดบริโภคอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน เปิดบริการได้จนถึงเวลา 21:00 น.
1.3 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ดำเนินการได้ตามเงื่อนไข เงื่อนเวลาการจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคเช่นเดียวกับมาตรการแบบควบคุมพื้นที่สูงสุด ตามข้อกำหนด ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564
1.4 สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดบริการ ยกเว้นการใช้สถานที่เป็น เอกเทศตามกฏหมายว่าด้วยโรคติดต่อ สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อออกกำลังกายประเภทลานกลางแจ้งตั้งอยู่ในพื้นที่โล่ง สามารถเปิดได้ไม่เกิน 21:00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนามสำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกฯให้จัดการแข่งขันได้ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดแล้วให้จัดการแข่งขันต่อไปได้
1.5 งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็น
2.1 ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 21:00 น. และจำหน่ายเพื่อนำไปบริโภคที่อื่นได้ถึงเวลา 23:00 น.
2.2 ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
2.3 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติจนถึง 21:00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดบริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก
2.4 ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติแต่ไม่เกิน 23:00 น. ร้านที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ให้เปิดบริการได้ในเวลา 04:00 น.
2.5 สนามกีฬา หรือสถานออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส เปิดให้บริการได้ไม่เกิน 21:00 น. จัดการแข่งขันได้โดยจำกัดจำนวนผู้เข้าชมในสนาม
3.1 จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และบริโภคภายในร้านได้ไม่เกิน 23:00 น.
3.2 ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
3.3 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติจนถึง 21:00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดบริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก
การปฏิบัติงานนอกสถานที่
ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณามาตรการขั้นสูง สุด เพื่อลดจำนวนการเดินทางของบุคลากร ลดโอกาสการเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ ลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่ในสถานที่ การสลับวันทำงาน หรือวิธีอื่นใดตามความเหมาะสมโดยพิจารณาให้เพียงพอกับการให้บริการประชาชน เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบสี่วัน
ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
จากข้อกำหนด ฉบับที่ 22 ลงวันที่ 30 เมษายน 2564 ที่มีการกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พร้อมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นเพิ่มขึ้น จำนวน 6 จังหวัด ซึ่งรวมกรุงเทพมหานครด้วยนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อออกกำลังกายประเภทลานกลางแจ้งตั้งอยู่ในพื้นที่โล่ง สามารถเปิดได้ไม่เกิน 21:00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม สำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกฯให้จัดการแข่งขันได้ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดแล้วให้จัดการแข่งขันต่อไปได้
( http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=782 )
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2564
สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด
อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/091/T_0024.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/082/T_0025.PDF
http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=784
http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=782
###
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากองค์การอนามัยโลก
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000
https://www.businesseventsthailand.com/en/situation-update-coronavirus-covid-19 หรือ info@tceb.or.th